Thai ZBrush

รายชื่อศิลปินที่ผลงานได้รับเลือกให้อยู่ในหนังสือ Spectrum #19

รู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ชิ้นงานประติมากรรมสำริด “Lady of Naga” ได้ถูกคัดเลือกให้อยู่ในหนังสือรวบรวมงานศิลปะแฟนตาซี SPECTRUM ประจำปี เล่มที่ 19 สามารถดูลิสรายชื่อศิลปินทั้งหมดได้ที่นี่

เนื่องจากช่วงนี้ได้มีคลาสสอนปั้นที่มหาวิทยาลัยรังสิต (โดย อาจารย์ชูชัย เป็นอาจารย์ที่ Lecture หลัก) โดยการใช้ดินน้ำมันเป็นหลัก พอกลับมาบ้านก็ยังคงอยาปั้น แต่เนื้อที่ไม่ค่อยจะมีเลยต้องปั้นในคอม โดยเซตเวลาประมาณ 20-30 นาที ต่อ session เพื่อเป็นการฝึก การใช้ Tablet

DynaMesh Head

โมเดลหัวคน โดยปั้นด้วย DynaMesh ซึ่งเป็น Feature สำคัญของ ZBrush เวอร์ชั่นใหม่

หัวที่ปั้นเมื่อประกอบเข้ากับตัว

อีกหัวที่ปั้น เป็นโครงหน้าชาวแอฟริกัน

เมื่อนำหัวโครงหน้าชาวแอฟริกัน มาประกอบกับช่วงลำตัว

พวกงาน Test ปั้น สามารถเข้าไปดูได้ใน แฟ้มงานรวม บน FaceBook

ต้องขอขอบพระคุณ ZBrushCentral ที่กรุณา เลือก ชิ้นงานปั้น อันใหม่ให้อยู่ในหมวด Top Row ของ Community. สามารถเข้าไปดูรายละเอียดและขั้นตอนการทำได้ที่ http://www.zbrushcentral.com/showthread.php?165385-Lady-of-Naga

Lady of Naga ถูกคัดเลือกให้อยู่ใน Top Row Gallery

งาน Lady of Naga หรือ สตรีแห่งพญานาค เซตคู่เป็นชิ้นงานที่จะแสดงใน งานแสดงศิลประจำปีโดยกลุ่มศิลปิน ศิลปาศรี ในหัวข้อ “หิมพานต์” งานชิ้นนี้ ได้ถูกออกแบบโดย นายยงเกียรติ และนางสาวอรอุมา โดยต้องการแสดงออกถึงความสัมพันธ์อันดีงามระหว่างมนุษย์ และธรรมชาติ โดยผู้ออกแบบได้เลือกพญานาค เป็นแทนเชิงรูปธรรมขอธรรมชาติที่อ่อนโยน น่าสัมผัส หากมนุษย์ทำดีต่อสิ่งแวดล้อม มนุษย์ก็สามารถอยู่คู่กับธรรมชาติได้อย่างมีความสุข

ชิ้นงานทั้งสองนี้เป็นผลิตผลที่เกิดจากการผสมผสานเทคนิค Digital Arts ทั้งแบบ 2 มิติ 3 มิติ หลอมรวมกับกระบวนการผลิตงานที่พิถีพิถันเป็นงานศิลปะเพื่อการสะสม ทั้งในรูปแบบ Fine Arts Giclée และ Fine Art Bronze (งานหล่อสำริด) โดยได้ใช้ครบศาสตร์แขนงต่างๆ ทั้งเก่าและใหม่ ไม่ว่าจะเป็น การออกแบบ การจัดองค์ประกอบศิลป์ จิตรกรรมภาพวาด(Digital Painting) งานประติมากรรม Digital(3D Sculpting ด้วยโปรแกรม ZBrush) เทคนิคการทำชิ้นงานต้นแบบ (Rapid Prototype) และการหล่อสำริดแบบดั้งเดิม

Lady of Naga (รูปหล่อสำริด) ปั้นจาก ZBrush และผลิตเป็นชิ้นงานจริง

Lady of Naga (รูปหล่อสำริด) ปั้นจาก ZBrush และผลิตเป็นชิ้นงานจริง

โดยตัวงานมีการขึ้น คอนเซปต์ (ท่าทาง) จากโปรแกรม ZBrush โดยการใช้ระบบ Mannequin และปั้นเสริมโดยการใช้ DynaMesh แล้วจึงนำผลงานออกไปปั้นด้วยขี้ผึ้งเพื่อนำไปหล่อเป็นชิ้นงานสำริดน้ำเอก (Everdur Bronze / Silicon Bronze) ต่อไป

ภาพเคลื่อนไหว

นอกจากนี้ในงานยังมีภาพพิมพ์ Giclée โดยคุณอรอุมา ขนาด 36นิ้ว x 55นิ้ว บนกระดาษ Canvas Hahnemuehle สำหรับหอศิลป์

ภาพพิมพ์ Giclée บนผ้าใบ Hahnemuehle

หากฟังไปแล้วเหมือนว่างานสองชิ้นนี้รังสรรค์ขึ้นมาด้วยเทคโนโลยี่สมัยใหม่ แต่ในการที่จะสรรสร้างผลงานที่งดงามควรค่าแก่การเก็บสะสม ยังคงต้องอาศัยความเข้าใจทางด้านศิลปะที่เริ่มจากกระดาษและดินสอซึ่งเป็นหัวใจหลักของการผลิตงานศิลปะ

โครงการ “หิมพานต์” ได้แรงสนับสนุนจากทั้งภาครัฐ และเอกชน โดยทางผู้จัดทำ ต้องขอขอบพระคุณ OCAC (สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม) ในการสนับสนุนงานออกแบบตัวละคร, บริษัท Comgraph ในการเอื้อเฟื้องาน Rapid Prototype, บริษัท Sapura Marketing ที่สนับสนุน Tablet Wacom ให้แก่โครงการ, บริษัท Post Element (หนังสือ ComputerArts Thailand) ที่ช่วยเป็นกระบอกเสียงให้กับทางโครงการ และกลุ่มศิลปิน ศิลปาศรี ที่เล็งเห็นคุณค่าแห่งศิลปะและให้เป็นกำลังใจแก่ศิลปินในการผลิตผลงาน

งานนี้จะเป็นงานสำริด ชิ้นแรก จากซีรี่ย์ หิมพานต์ (ยังคงหาผู้สนับสนุนเพิ่มเติมในส่วนการผลิตงานสำริด) และหวังว่าสักวันจะสามารถนำเอารูปหล่อสำริดอันเกิดจากตำนานไทยและจินตนาการศิลปินยุคใหม่ มาผลิตเป็น ชิ้นงานประติมากรรมร่วมสมัยแบบ Walk Through ขนาดใหญ่ (แบบ Sculpture Park) ผู้สนใจ สามารถติดต่อสนับสนุนได้ที่ นายยงเกียรติ กาญจนพายัพ (+66.85.906.1595) หรือ อีเมล์ Yongkiatk(ที่)gmail.com ขอบพระคุณมากครับ

หากทราบวันที่แสดงงานแน่นอน จะแวะมาอัพเดทโพสอีกรอบนะครับ

http://www.zbrushcentral.com/showthread.php?165385-Lady-of-Naga

ตัวนี้เป็นงานทดสอบปั้นสำหรับการหา WorkFlow/Pipeline ของตังเองและศิลปินร่วม โดยมีคอนเซปต์จากคุณอรอุมา ตัวละครนี้อยู่ใน โลกหิมพานต์ เผ่าพันธุ์พานรมฤค ซึ่งเป็นสัตว์ประสมระหว่างสัตว์ประเภทลิงและสัตว์เท้ากีบ

ในการขึ้นโมเดล ก็อาศัย Feature ใหม่ Dynamesh ในโปรแกรม ZBrush (www.zbrush.com) เพื่อสร้างโครง Base จากนั้นได้ Export ออกไปทำการ Retopology ในโปรแกรม Silo (www.nevercenter.com) และสร้าง UV ในโปรแกรม UVLayout (www.uvlayout.com)

งานปั้นและลงสีใน ZBrush4R2

งานปั้นและลงสีใน ZBrush4R2 โดยเริ่มจากการขึ้นด้วยระบบ DynaMesh และทำการ Retopology ใน Silo ก่อนกลับมาเพนต์สีต่อใน ZBrush

หลังจากปั้นเสร็จแล้วจึงทำการทดสอบระบบขน โดยใช้โปรแกรม Luxology Modo 5.01 (www.luxology.com) ซึ่งระบบการทำขนค่อนข้างหนัก (เครื่องช้า) แต่ก็สามารถ Style ขนได้ด้วยการใช้ Vector Map Painting

พานรมฤค

ภาพเรนเดอร์พานรมฤคด้วยโปรแกรม Luxology Modo 5.01 ซึ่งภาพนี้เรนเดอร์ด้วยการใช้ Displacement Mapping บน Model ที่ผ่านกระบวนการ Resurface หรือ Retopology แล้ว

กระบวนการใส่ขน กิน Resource ค่อนข้างเยอะ จึงต้องอาศัยการแบ่าง Patch เป็นส่วนๆ เพื่อให้ เครื่อง (ที่เริ่มจะล้าสมัยแล้ว) สามารรถทำงานได้

พานรมฤคเต็มตัว

ในการแยก Fur Patch ของตัวละครนี้ ได้แยกส่วนสำคัญๆ ออกเป็นส่วนขนบนใบหน้า ส่วนหัว ส่วนแก้ม ส่วนคอ ส่วนลำตัว และส่วนขา เพือ่ให้ง่ายแก่การตปรับแก้เป็นส่วนๆ

หลังจากที่ทดสอบการเรนเดอร์แล้วจึงกลับมาที่ ZBrush เพื่อทำการจัดท่าโพส คร่าวๆ (ยังไม่เสร็จสมบูรณ์)

ทดสอบท่าโพส

อาศัย Plug-in ที่มีชื่อว่า Transpose Master จะช่วยให้สามารถโพสท่าให้กับตัวละครที่มีหลาย Subtools ได้ง่ายยิ่งขึ้น (ในกรณีนี้ผมได้ทำการโพส Fur Patch ซึ่งแยกออกเป็น Subtool ย่อยๆ ด้วย)

นับว่าเป็นการทดสอบที่สำเร็จระดับหนึ่งในการโยนไฟล์เข้าออกหลายๆ โปรแกรม Flow โดยรวมก็จาก

ZBrush(ปั้นโครง) –> Silo(Resurface) –> UVLayout(UV unwrap) –> Modo(Lighting Test) –> ZBrush(Posing) –> Modo (Final Result)

งานชิ้นนี้เป้นงานสอนนักศึกษาที่ ZLA Digital ในหัวข้อการปั้นด้วยระบบ DynaMesh ซึ่งได้ภาพอ้างอิงจากศิลปินคุณ Aris Kolokontes

ตัวนี้ ทำเพื่อสอนนักเรียนเกี่ยวกับการปั้นด้วยภาพ Reference (ในกรณีนี้ Texture จากเน็ต) และการ Project รายละเอียด จาก โมเดลรายละเอียดสูง (5 ล้านโพลิกอน)  เป็น  Normal Map เพื่อเอาไปใส่ให้กับ model รายละเอียด ต่ำ (45 โพลิกอน) และ Render แบบ Real-time ใน Marmoset

Model รายละเอียดสูง

โมเดลรายละเอียดต่ำเรนเดอร์ใน Marmoset แบบ 3D Anaglyph

Turn Table รายละเอียดสูง

Turn Table แบบ Real-time ใน Marmoset

ทดสอบระบบ DynaMesh ใน ZBrush 4R2 ซึ่งน่าจะช่วยงานปั้นโมเดลได้ง่ายขึ้น และเหมาะกับ Artists หรือ Traditional Sculptors

Model Tyr ซึ่งใช้สอนที่ ZLA Digital โมเดลตัวนี้ มีต้นแบบจาก ของเล่น McFarlane ชุด  Blade Hunter

โดยเริ่มขึ้นโมเดลจาก ZSphere และทำการ Retopology / กาง UV และลงสี โดยบางส่วนได้มีการใช้เครื่องมือของ ZBrush 4R2 เช่น  DynaMesh และ  NoiseMaker ในการสร้างเกราะ และลายเสื้อ ต่างๆ

งานโมเดลวัสดุ Bronze

งานโมเดลพร้อมลงสีแต่จัดท่าโพสแบบง่ายๆ

และได้ลองสอนนักเรียนให้ใช้งาน Marmoset ในการนำเอาโมเดลรายละเอียดต่ำมา Map คู่กับ  Diffuse และ Normal Map

ป้ายกำกับ: , , , , ,

งานปั้นโมเดล Iron Man Mark I โดยการใช้งาน ZBrush เป็นหลัก เครื่องมือหลักๆ ที่มช้คือ Mask / Extract และ Clipping Brushes (ส่วนปืนใช้ Assets จาก Modo เพื่อทดสอบการใช้งาน GoZ Plugin)

งานปั้น โมเดล Conan โดยมีต้นแบบจากศิลปิน Frank Frazetta

Posts made this month

เมษายน 2024
จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส. อา.
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930  

Select Post by Month

Blog Stats

  • 426,069 visitors